ทางเรามีให้ เช่าไฟกองถ่าย ที่เป็น กองถ่ายขนาดเล็ก ที่มีจำนวนคนในกองถ่ายไม่มาก เช่น ถ่ายหนังโฆษณา ถ่าย MV ถ่ายรายการ ถ่ายสัมภาษณ์ ซึ่งเหมาะกับช่วงสถานการณ์ Covid-19 ที่ทางรัฐ จะให้ กองถ่ายมีจำนวนคน ไม่เกิน 20คนซึ่งถ้าช่วงปรกติ การ เช่าไฟกองถ่าย กับทางบริษัทที่ให้บริการไฟกองถ่ายทั่วไป ทีมเจ้าหน้าที่ไฟ ก็ต้องมีคนอย่างน้อย 5 คนขึ้นไป อาจจะต้องมีรถเครื่องปั่นไฟ เพราะไฟกองถ่ายปรกติ จะเป็นไฟหลอด ฮาโลเจน หรือ HMI อาจจะกินไฟรวม 20000w ซึ่งสูงมาก ตัวไฟแต่ละดวงมีน้ำหนักเยอะ เลยต้องมี เจ้าหน้าที่ช่วยยกไฟ และจัดไฟ แต่การ เช่าไฟกองถ่าย กับทางร้าน SonLightStudio ไฟของทางร้านจะ เหมาะกับกองถ่ายขนาดเล็ก เป็นไฟขนาดเล็ก ที่มีความสว่างสูง เช่น ไฟหลอด LED หรือ ไฟหลอดฟลูออเรสเซน เป็นต้น การกินไฟรวมทั้งกอง อาจจะไม่เกิน 1000w ซึ่งน้อยมาก สามารถใช้ไฟบ้าน หรือไฟของสถานที่ถ่ายทำก็ได้และเป็นชุดไฟ ที่ดูแลรักษาง่าย น้ำหนักเบา จะไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ดูแล ทางลูกค้าดูแลกันเองได้ มีอุปกรณ์รีโมต ปรับความสว่างได้เอง อย่างง่ายดาย นอกจากจะเหมาะกับ กองถ่ายขนาดเล็กแล้ว ค่าบริการก็ไม่แพง ไฟกองถ่ายขนาดเล็ก ที่ทางเรามีให้เช่า ไฟถ่ายวีดีโอ LED ไฟต่อเนื่อง LED Godox 150w ไฟต่อเนื่อง LED Nanlite 330w ไฟคีโน (Kino) ไฟต่อเนื่องหัวแดง Redhead 1. ไฟถ่ายวีดีโอ LED ไฟถ่ายวีดีโอ Led หรือ ไฟต่อเนื่อง Led หรือ ไฟ Monolight หรือ ไฟสตูดิโอ Led มีชื่อเรียกหลากหลาย แล้วแต่จะเรียก เป็นไฟยอดนิยมเป็นอย่างมาก ในกองถ่ายขนาดเล็ก ในสมัยนี้ เพราะด้วยความที่ แสงมีค่าความเที่ยงตรงของสี CRI สูงมาก มีความสว่างที่เพียงพอ กินไฟน้อย น้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวก และสามารถใช้ตัวกระจายแสง Diffuser ได้หลากหลาย ซึ่งไฟแบบนี้ ทางร้าน SonLightStudio จะมีอยู่ 2แบบ คือ 1.1 ชุดไฟถ่ายวีดีโอ LED Godox SL-150ii 150w 2 ดวง ( Set LG1 ) ไฟยี่ห้อ Godox ชุดนี้ สามารถใช้ถ่ายวีดีโอ ระดับกลาง-สูง ตัวไฟมีค่า CRI/TLCI 96/97 ซึ่งนับว่าสูงมาก เพียงพอในงานระดับมืออาชีพ สามารถปรับหรี่ไฟได้ มี effect แสงหลายแบบ เป็นไฟแบบ indoor ไม่มีแบตเตอรี่ การใช้ไฟดวงละ 150w อุณหภูมิสีของแสง 5600K ความสว่าง 14,000 lumen 1.2 ชุดไฟถ่ายวีดีโอ LED Nanlite FS-300 330w 2ดวง (Set LN1) ไฟยี่ห้อ Nanlite ชุดนี้ สามารถใช้ถ่ายวีดีโอ ระดับสูง ตัวไฟมีค่า CRI/TLCI 96/98 ซึ่งนับว่าสูงมากๆ เพียงพอในงานระดับมืออาชีพ สามารถปรับหรี่ไฟได้ เป็นไฟแบบ indoor ไม่มีแบตเตอรี่ การใช้ไฟดวงละ 330w อุณหภูมิสีของแสง 5600K ความสว่าง 24,797 Lumens ต่อดวง ถ้าใส่ Reflector (โคมครอบหน้า) จะสว่าง 36,730 Lumens 2. ชุดไฟคีโน (Kino) แบบแผง 6หลอด 2 ดวง ( Set K ) ไฟ Kino นี้เป็นไฟ หลอดฟลูออเรสเซนต์ แท่งยาว 6หลอด x 55w = 330w แสงขาว เรียงอยู่ในแผงไฟ มีบานดอร์คุมทิศทางแสงได้ ด้วยการเป็นไฟที่เป็นแผง จะทำให้เงานุ่ม คล้ายไฟ softbox การใช้ไฟดวงละ 330w อุณหภูมิสีของแสง 5600K ความสว่าง 22,000 Lumens 3. ไฟต่อเนื่องหัวแดง Redhead 800w (Set RH) ไฟต่อเนื่องหัวแดง 800w 3 ดวง ( Set RH ) ไฟชุดนี้เป็นไฟ หลอดฮาโลเจน 800w แสงวอร์ม หลอดร้อน มีเจลสีฟ้า ที่ช่วยแก้แสงวอร์ม ให้เป็นแสงขาว (เกือบขาว) […]
LN1
การที่จะเลือกใช้ ไฟสตูดิโอ แฟลช แบบไปใช้งาน ต้องทำความเข้าใจถึงความหมาย ของอุปกรณ์ตัวไฟสตูดิโอเสียก่อน ไฟสตูดิโอ หลักๆ หมายถึง อุปกรณ์ที่กำเนิดแสงสว่าง “ทุกแบบ” ที่ใช้เป็นไฟหลัก เพื่อส่องสว่าง ในการถ่ายภาพนิ่ง หรือถ่ายภาพวีดีโอ ในสถานที่ที่เป็น “สตูดิโอถ่ายภาพ” ได้ ก็นับเป็น “ไฟสตูดิโอ” ได้ทั้งหมด แต่ในความหมายของที่ คนไทย เรียกใช้กัน ซึ่งเป็นความหมายที่ อาจจะไม่ครบถ้วน คนไทยจะเข้าใจว่า ไฟสตูดิโอ คือไฟที่มี Soft Box โครงผ้าสี่เหลี่ยมสีดำ คลุมหัวไฟ ให้หลอดไฟแฟลช อยู่ด้านในซอฟบ๊อก และมีด้านสีขาว เป็นที่ให้แสงออกมา เท่านั้น โดยนึกไปว่า ถ้าเป็น “ไฟ ที่มี Softbox” ก็คือไฟสตูดิโอ ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นความหมายที่แคบ และจำเพาะเจาะจงเกินไป อาจจะเพราะว่า คนไทย อาจจะไม่คุ้นเคยกับ การทำงานของช่างภาพ ในสตูดิโอ แบบในต่างประเทศ ก็เลยให้ความหมายของคำว่า Studio ไปในแนวนี้ แต่ยังไงก็ตาม บทความนี้ ก็จะเขียนล้อไปตามความเข้าใจ ของคนไทยเป็นหลักนะครับ ไฟสตูดิโอ ในความเข้าใจของคนไทย จะมี 2แบบ คือ ไฟสตูดิโอ แบบไฟแฟลช และ ไฟสตูดิโอ แบบไฟต่อเนื่อง สิ่งที่ต่างกันหลักๆคือ รูปแบบของแสงที่ปล่อยออกมา และชนิดของหลอดไฟที่สร้างแสงออกมา โดยแต่ละชนิดจะมีการใช้งานที่แตกต่างกัน แบบที่1 “ไฟสตูดิโอ แฟลช” หรือ “ไฟแฟลชสตูดิโอ” เป็นไฟแสงแฟลช ที่ยิงแสงจากหลอดแฟลช ที่ความสว่างสูงมาก ออกมาในเสี้ยววินาที เป็น “ไฟถ่ายภาพนิ่ง” เป็นหลักอย่างเดียว จากรูปข้างบน จะเห็นว่า ตัวหัวไฟสตูดิโอ แฟลช จะเป็นลักษณะเหมือนทรงกระบอก ตั้งอยู่บนขาตั้ง ส่วนซอฟบ๊อก เป็นโครงผ้าสีดำ เอามาสวมครอบ หัวไฟสตูดิโออีกทีหนึ่ง ตัวซอฟบ๊อกจะมีทางออกของแสง ในด้านที่ผ้าเป็นสีขาว เมื่อซูมเข้าไปดู ตรงหัวไฟ ที่หลอดไฟแฟลช ก็จะเห็นว่า มีไฟ 2 ดวง ที่มีลักษณะของหลอดแตกต่างกัน ดวงแรก เป็นลักษณะวงแหวนใส มีเส้นลวด พันรอบๆ อันนี้จะเรียกว่า “หลอดไฟแฟลช” ซึ่งหลอดไฟแฟลชนี้ เป็นหลอดที่ ยิงแสงแฟลชออกมาในช่วงเสี้ยววินาที สร้างกำลังความสว่างสูงมาก แต่ปกติ ในช่วงที่ยังไม่มีการกดชัตเตอร์ถ่ายรูป หลอดไฟแฟลชนี้ก็จะไม่มีแสงออกมา กำลังไฟจะถูก เก็บอยู่ในตัวเก็บประจุ ในกระบอกหัวไฟ รวบรวมกำลัง เพื่อยิงออกมาในตอนที่กดชัตเตอร์เท่านั้น ส่วนหลอดไฟอีกดวงนึง ซึ่งอยู่ตรงกลาง หลอดไฟนี้จะเรียก “Model Light” หรือเรียก “หลอดไฟนำ” จะมีแสงเปล่งออกมาตลอดเวลา แต่กำลังความสว่างไม่สูง สว่างเพียงแค่มองเห็นว่ามีแสง ใช้เพื่อทำให้ช่างภาพ มองเห็นรูปแบบของแสง ที่ออกมาจาก หลอดไฟแฟลช ว่าทิศทางของแสงจะมุ่งไปทางไหน ความคมของแสงเงาเป็นอย่างไร เพื่อให้ช่างภาพได้ประมาณการ ทิศทางและลักษณะของแสงได้ แต่ก็ต้องไปคำนวณกับ ความสว่างจริงที่ถูกยิงออกมาจากหลอดไฟแฟลชด้วย โดยเมื่อก่อนอุปกรณ์ ไฟสตูดิโอ แฟลช เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูง และมีการใช้งานโดย ช่างภาพมืออาชีพเป็นหลัก คนทั่วไป มักจะไม่ค่อยซื้อ ไฟสตูดิโอ แฟลช มาใช้งานส่วนตัว เพราะด้วยความที่ มีความซับซ้อน ในการใช้งาน ต้องมีความรู้ และเข้าใจหลักการของแสง และการถ่ายภาพเป็นอย่างดี กล้องที่ใช้งานร่วมกับตัวไฟแฟลชสตูดิโอ มักจะเป็นกล้อง DSLR แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไป จะเข้าใจหลักการของแสง และการใช้งานกล้อง DSLR บ้างแล้ว ด้วยเพราะ กล้อง DSLR/Mirrorless มีการใช้อย่างแพร่หลาย และเพราะในมือถือ สมาร์ทโฟน App ของกล้องถ่ายรูปในมือถือ จะมีการบอกรายละเอียด ของค่าชัตเตอร์ค่า ISO และค่าแสง ทำให้ คนทั่วไป เข้าใจหลักการของแสง ในการถ่ายรูปเบื้องต้น ซึ่งถ้าให้เปลี่ยนมาใช้กล้อง DSLR/Mirrorless ทำงานคู่กับไฟแฟลชสตูดิโอ ก็เป็นการต่อยอดความรู้จากเดิม ได้ง่าย ดังนั้น การที่คนทั่วไป ที่ไม่ใช่ช่างภาพอาชีพ เช่าไฟสตูดิโอ มาใช้ถ่ายงานส่วนตัว ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากแล้วยี่ห้อของ ไฟสตูดิโอ แฟลช ที่เป็นที่รู้จักในบ้านเรา เช่น Fokon, Godox, Excella, Boncolor ฯลฯ ซึ่งถ้าเป็นไฟแบบนี้ของทาง SonLightStudio จะเป็น ไฟสตูดิโอชุด Set A1, Set B1, Set C1 เป็นต้น แบบที่2 คือ “ไฟสตูดิโอ แบบไฟต่อเนื่อง” บางคนเรียก “ไฟสตูดิโอ Softbox” ก็ต้องบอกว่า การเรียก ไฟสตูดิโอ Softbox หรือเรียก ไฟ Softbox ก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะชื่อนี้สามารถหมายถึงไฟแบบ สตูดิโอ แบบไฟแฟลชได้เช่นกัน ซึ่งถ้าเรียก “ไฟสตูดิโอ แบบไฟต่อเนื่อง” ก็จะแยกความเข้าใจได้ง่ายกว่า ไฟสตูดิโอ แบบไฟต่อเนื่อง เป็นไฟที่มีแสงสว่างตลอดเวลา ซึ่งหลอดไฟ ที่เป็นหลอดไฟต่อเนื่อง มีหลายชนิด มีทั้งแบบ หลอดฟลูออเรสเซน, หลอด LED, LED COB […]